MFactors

แมลงที่เป็นพาหะนำโรค ตอนที่ 1

แมลงที่เป็นพาหะนำโรค

        ใครจะไปคิดว่าเหล่าแมลงวายร้ายที่หลบซ่อนอยู่ในบ้านเรานอกจากจะสร้างความรำคาญให้เราแล้วยังสามารถเป็นพาหะของโรคภัยต่างๆได้อีกด้วย วันนี้ MFACTORS จะพาเพื่อนๆมาทำความรู้จักกับแมลงรำคาญที่เป็นพาหะของโรคต่างๆกัน

1.ไรฝุ่นบ้านและแมลงสาบ (House dust mites & Cockroaches)

โรคหอบหืด (Asthma)

หอบหืด ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ แต่เกิดจากปฏิกิริยาภูมิแพ้ต่อฝุ่นผงของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ได้แก่ ไรฝุ่นบ้านและแมลงสาบ เป็นหลัก ดังนั้นจึงไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มโรคที่มีแมลงเป็นพาหะอย่างชัดเจนอย่างไรก็ตามโรคนี้มีความสำคัญต่อสุขภาพและเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้วอย่างมาก หอบหืดเป็นโรคเรื้อรังที่พบบ่อยในเด็ก และในสหรัฐอเมริกาโรคนี้เป็นสาเหตุหลักในการเข้าโรงพยาบาลของเด็ก องค์การอนามัยโลกประมาณการว่ามีกว่า 300 ล้านคนทั่วโลกเป็นโรคหอบหืด โดยในชนบทของแอฟริกามีอัตราผู้ป่วยอยู่ที่ 1% ในยุโรป 7-20% และในบางเมืองของสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลียอยู่ที่ 25-40%

สาเหตุหลักของโรคคือ ไรฝุ่นบ้าน ซึ่งเป็นสัตว์ประเภทแมง มีขนาดเล็กกว่าหนึ่งมิลลิเมตร กินเศษผิวหนังของมนุษย์เป็นอาหาร มีการพบละอองเกสร สปอร์ของจุลชีพ เส้นใยเชื้อรา และแบคทีเรียในช่องท้องของไรฝุ่นบ้านด้วย ไรฝุ่นบ้านอยู่ในพื้นที่เล็ก ๆ บนฟูกที่นอน พรม ผ้านวม หมอน และวัสดุเฟอร์นิเจอร์ ทั้งแบบสังเคราะห์และธรรมชาติ เนื่องจากวัสดุทั้งสองชนิดเป็นที่อยู่อย่างดีของไรฝุ่น และแมลงสาบเยอรมันเป็นสายพันธุ์ที่สร้างความรบกวน อาศัยอยู่บนอาคารในทุกทวีป ยกเว้นแอนตาร์กติกา โดยต้องอาศัยอาคาร (หรือเรือ) เพื่ออยู่รอดในภาวะอากาศหนาว มักพบในภัตตาคาร โรงแรม โรงพยาบาล ศูนย์รักษาพยาบาล และโรงงานแปรรูปอาหาร การศึกษาจำนวนมากพบว่า การสัมผัสสารภูมิแพ้ในแมลงสาบมีความเกี่ยวข้องกับโรคหอบหืด จากการศึกษาในสหรัฐอเมริกาพบว่า ผู้ป่วยหอบหืดจำนวนมากมีอาการไวต่อแมลงสาบ โดยเฉพาะในเขตชุมชนเมือง แสดงให้เห็นว่ามีแมลงเหล่านี้รบกวนเป็นจำนวนมากแม้ในสหรัฐอเมริกาเอง

2. ยุง (Mosquito)

โรคไข้เลือดออก (Dengue Fever)  เชื้อ: ไวรัสเด็งกี่ (Dengue virus)

ไข้เลือดออก เป็นโรคจากเชื้อไวรัสในยุงที่สำคัญที่สุดในโลก โดยองค์การอนามัยโลกได้จัดอันดับโรคนี้เป็นหนึ่งในโรคเขตร้อน 17 ชนิดที่ถูกละเลย และนำเข้าโครงการรณรงค์เพื่อสร้างความตระหนักและกำจัดทิ้ง ไข้เลือดออกแพร่กระจายในประเทศต่าง ๆ มากกว่า 100 ประเทศทั่วเขตร้อน ตั้งแต่อเมริกากลางและอเมริกาใต้ เอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และหมู่เกาะแปซิฟิก พบโรคนี้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในสองสามทศวรรษที่ผ่านมาในบริเวณเขตชุมชนเมือง ซึ่งมีสภาพเหมาะสมต่อการแพร่เชื้อ องค์การอนามัยโลกประเมินว่า มีผู้ติดเชื้อประมาณ 50-100 ล้านรายต่อปี และประชากรครึ่งหนึ่งของโลกอาศัยอยู่ในประเทศที่มีการระบาด

ความเสี่ยงของไข้เลือดออกรุนแรงกว่าการระบาดที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากยุงพาหะอาศัยอยู่ในภูมิประเทศที่หลากหลาย และยุงลายเสือ หรือ Aedes albopictus ยิ่งทำให้การแพร่กระจายกว้างขวางมากขึ้น มีการรายงานผู้ป่วยรายใหม่ในโครเอเชีย ฝรั่งเศส หมู่เกาะมาเดียรา ฟลอริดา (สหรัฐอเมริกา) และยูนนาน (ประเทศจีน) ในไม่กี่ปีที่ผ่านมา

ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ไม่มีอาการหรือมีอาการไข้อ่อนๆ ในขณะที่ผู้ป่วยประมาณ 5% มีอาการรุนแรงโดยมีไข้เฉียบพลันภายใน 3-14 วันหลังได้รับเชื้อ มีอาการปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ มีผื่นตามร่างกาย และยังไม่มีวัคซีนหรือวิธีการรักษาโดยเฉพาะ

ไข้มาลาเรีย (Malaria)   เชื้อ: โปรโตซัว Plasmodium falciparum

มาลาเรียทำให้คนเสียชีวิตนับล้านต่อปี และคาดว่ามีผู้ติดเชื้อมากกว่า 200 ล้านคนทั่วโลก พบใน 97 ประเทศ ครอบคลุมประชากรประมาณครึ่งหนึ่งของโลก ประมาณ 90% ของการเสียชีวิตด้วยโรคนี้เกิดขึ้นบริเวณเขตกึ่งซาฮาราในแอฟริกา โดยเฉพาะในไนจีเรียและสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ผู้ที่มีความเสี่ยงมากที่สุดคือ คนยากจนในชุมชนห่างไกลที่มีบริการสาธารณสุขจำกัด เด็ก หญิงตั้งครรภ์ และผู้ติดเชื้อ HIV อาการไข้ ปวดหัว อาเจียน จะแสดงขึ้นภายใน 7-15 วันหลังจากติดเชื้อ ถ้าไม่ได้รับการรักษา เชื้อพลาสโมเดียม ฟัลซิพารัม (Plasmodium falciparum) จะขยายตัวอย่างรวดเร็วและปิดกั้นหลอดเลือดเล็กในอวัยวะสำคัญ รวมทั้งในสมองด้วย ส่วนเชื้ออื่นๆ จะซ่อนอยู่ในตับและสามารถแสดงอาการในอีกหลายเดือนหรือหลายปีต่อมา

ไข้เหลือง (Yellow Fever)  เชื้อ: ไวรัส Flavivirus

โรคไข้เหลือง เป็นไข้เลือดออกที่มีต้นกำเนิดในเขตตอนกลางของแอฟริกา แต่ขยายไปสู่อเมริกาใต้ในศตวรรษที่ 17 พร้อมกับการค้าทาส แพร่กระจายใน 34 ประเทศแถบแอฟริกา ซึ่งในแต่ละปีมีอัตราการตายประมาณ 30,000 ราย จากผู้ติดเชื้อ 200,000 ราย การติดเชื้อมีสามรูปแบบ ดังนี้

รูปแบบชุมชนเมือง ติดต่อผ่านยุงลายบ้าน (A aegypti) ที่ขยายพันธุ์ในน้ำจืดบริเวณสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ เช่น กระป๋องโลหะ ถังน้ำ รางระบายน้ำ ฯลฯ ซึ่งเป็นรูปแบบการติดเชื้อหลักในแอฟริกา

อาการจะแสดงขึ้นภายใน 3-6 วันหลังได้รับเชื้อ ซึ่งประกอบด้วย อาการไข้ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ และอาเจียน คนไข้ประมาณ 15% จะมีอาการ อาหารเป็นพิษเฉียบพลัน และมีอาการตัวเหลืองร่วมด้วย อันเป็นผลมาจากความเสียหายในตับและสัญญาณเลือดออก เช่น เลือดออกในปาก ตา จมูก และในทางเดินอาหาร ซึ่งทำให้เกิด 'อาเจียนเป็นสีดำ' โดยผู้ป่วยที่พัฒนาอาการมาถึงระดับนี้จะมีอัตราการเสียชีวิต 20% หรือมากกว่า

3. แมลงวัน( Diptera)

img width="600" height="237" src="https://www.mfactors.co.th/images/uploads/2021/07/Untitled-3.jpg" alt="" loading="lazy" srcset="https://www.mfactors.co.th/images/uploads/2021/07/Untitled-3.jpg 600w, https://www.mfactors.co.th/images/uploads/2021/07/Untitled-3-300x119.jpg 300w" sizes="(max-width: 600px) 100vw, 600px" />

โรคบิดอะมีบา (Amoebic dysentery)เชื้อ: โปรโตซัว Entamoeba histolytica

แมลงเป็นสัตว์พาหะของโรคบิดอะมีบา โดยติดต่อผ่านการสัมผัสกับอุจจาระของมนุษย์ หรือการสัมผัสผลิตภัณฑ์และพื้นผิวที่มีเชื้อ คาดว่ามีผู้ติดเชื้อทั่วโลกประมาณ 50 ล้านคน แต่ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ มีเพียง 10% เท่านั้นที่จะแสดงอาการ โรคนี้ทำให้เกิดอาการบิดถ่ายเป็นมูกเลือด น้ำหนักลด อ่อนเพลีย และปวดท้อง เชื้อจะโจมตีผนังลำไส้ทำให้เกิดแผล เชื้อโรคสามารถเข้าสู่กระแสเลือดและอวัยวะอื่นๆ ได้ โดยเฉพาะในตับ

อหิวาตกโรค (Cholera) เชื้อ: แบคทีเรีย Vibrio cholera

อหิวาตกโรค เกิดในบริเวณที่สุขอนามัยไม่ดี มีความยากจน และความขัดแย้ง เกิดจากการได้รับอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเข้าไป แมลงเป็นสาเหตุสำคัญของการแพร่กระจายโรค โดยนำพาเชื้อแบคทีเรียจากอุจจาระที่ติดเชื้อหรือผลิตภัณฑ์ที่ปนเปื้อนซึ่งอยู่ในสิ่งแวดล้อมของมนุษย์

ระยะฟักตัวอยู่ระหว่าง 1-5 วัน หลังจากนั้นแบคทีเรียจะผลิตสารพิษ ทำให้ถ่ายเหลวและอาเจียน และนำไปสู่อาการขาดน้ำและเสียชีวิตหากไม่ได้รับการรักษา ผู้ป่วยอาการหนักมีโอกาส 25-50% ที่จะเสียชีวิต ปัจจุบันมีวัคซีนสำหรับโรคนี้และได้ผลดีโดยองค์การอนามัยโลก เพื่อควบคุมการแพร่กระจายในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีการกระจายยา 2 ล้านโดสในปี พ.ศ.2556 โดยเฉพาะในพื้นที่ที่เกิดความขัดแย้งในแอฟริกา จำนวนผู้ติดเชื้อในแอฟริกาคิดเป็นมากกว่า 90% ยกเว้นการระบาดที่เกิดในเฮติและประเทศใกล้เคียงหลังเหตุแผ่นดินไหวในปี ค.ศ.2553 ซึ่งทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นเป็นเกือบ 600,000 รายในปี พ.ศ.2554

4.เห็บ (Ticks)

โรคบาบีซิโอซีส (Babesiosis) เชื้อ: โปรโตซัว Babesia spp

บาบีซิโอซีส เป็นโรคที่พบไม่บ่อย และเป็นโรคเกิดใหม่ซึ่งเกิดจากโปรโตซัว Babesia หลายสายพันธุ์ สัตว์พาหะหลักคือ เห็บในสกุล Ixodes แต่พบว่าจะต้องใช้ตัวโวล หนู หรือกวางหลายสายพันธุ์เป็นตัวกลางเพื่อวงจรชีวิตที่สมบูรณ์ ทราบกันดีว่า เชื้อโรคนี้อยู่ในวัวและเพิ่งพบในมนุษย์ในทศวรรษที่ 2493 ส่วนใหญ่พบในเขตตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา และในเขตอบอุ่นของยุโรป มักจะไม่พบอาการหรือมีอาการคล้ายไข้หวัดอ่อนๆ แต่ในคนที่มีระบบภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง อาจมีอาการรุนแรงและถึงแก่ชีวิตได้

เออร์ลิชิโอสิส (Ehrlichiosis)  เชื้อ: แบคทีเรีย Ehrlichia, Anaplasma phagocytophilum และ Neorickettsia sennetsu

โรคเออร์ลิชิโอสิส เป็นคำทั่วไปที่ใช้เรียกการติดเชื้อแบคทีเรียที่โจมตีเซลเม็ดเลือดขาว เชื่อกันว่าโรคนี้จำกัดอยู่ในสหรัฐอเมริกา โดยมีเชื้อแบคทีเรียหลายชนิดที่เป็นแบคทีเรียเฉพาะบางพื้นที่เท่านั้น และยังมีองค์ความรู้เกี่ยวกับโรคนี้น้อยมากจะเกิดอาการขึ้นประมาณ 14 วันหลังติดเชื้อ และวงจรการติดเชื้อเกิดขึ้นภายใน 12 ชั่วโมง ประกอบด้วย อาการปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง และผื่นผิวหนังในบางครั้ง ซึ่งมีอาการแตกต่างกันออกไป

5. แมลง: แมลงริ้นดำ

โรคพยาธิตาบอด/โรคตาบอดแถบแม่น้ำ (Onchocerciasis/River blindness) เชื้อ: พยาธิตัวกลมเนมาโทด Onchocerca volvulus

โรคตาบอดแถบแม่น้ำมีผู้ติดเชื้อ 37 ล้านคน ส่วนใหญ่พบใน 31 ประเทศแถบแอฟริกา และอเมริกากลางและใต้ มีความเสี่ยงในเขตชนบทใกล้แหล่งน้ำไหลเร็วซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ของแมลงริ้นดำ

ปรสิตชนิดนี้ทำให้เกิดการระคายเคืองผิว ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ (เจ็บบริเวณขาหนีบ) อาการเท้าช้างที่อวัยวะสืบพันธุ์ บกพร่องทางการมองเห็นรุนแรง และตาบอด ปรสิตชนิดนี้มีวงจรชีวิตซับซ้อนและขยายพันธุ์เฉพาะในตัวมนุษย์ โดยมีระยะตัวอ่อนหลายระยะภายในตัวแมลงริ้นดำ แมลงริ้นดำตัวเมียจะหาเลือดเป็นอาหารหลังการจับคู่ และถ้าดูดเลือดมนุษย์ที่มีเชื้อ มันจะนำปรสิตระยะไมโครฟิลาเรียจากเลือดนั้นเข้าร่างกาย ปรสิตระยะไมโครฟิลาเรียจะผลิตตัวอ่อน โดยมีสามระยะ ซึ่งระยะสุดท้ายจะย้ายไปอยู่บริเวณส่วนหัวและปากดูดของแมลง และติดต่อสู่มนุษย์ผ่านน้ำลายเวลาดูดเลือดตัวอ่อนจะย้ายไปอยู่บริเวณเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ซึ่งมันจะสร้างปุ่มขึ้นและเติบโตเป็นตัวเต็มวัยภายใน 6-10 เดือน ตัวเต็มวัยจะจับคู่ และตัวเมียจะผลิตไมโครฟิลาเรีย ซึ่งจะถูกนำเข้าสู่ร่างกายแมลงริ้นดำขณะที่มันกินอาหารหนอนพยาธิตัวกลมสามารถโตและมีขนาดยาวได้ถึง 50 ซม. อาศัยอยู่ในโนดูลได้นานถึง 15 ปี และผลิตไมโครฟิลาเรียได้นานถึง 9 ปี รักษาได้โดยการฆ่าไมโครฟิลาเรียและบรรเทาอาการระคายเคืองผิว แต่ไม่สามารถฆ่าหนอนพยาธิเต็มวัยได้ อย่างไรก็ตาม มีแนวโน้มว่าจะมีวิธีการรักษาตามรายงานของ CDC โดยใช้ยาปฏิชีวนะที่ฆ่าแบคทีเรียซิมไบโอติคสกุล Wolbachia ซึ่งมีความจำเป็นต่อการอยู่รอดของปรสิตชนิดนี้